วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ทำอย่างไรให้อายุยืน อ่อนเยาว์

              เมื่อพูดถึงความแก่ความชรา (Theories of aging) ขึ้นมา คงไม่มีใครอยากที่จะพบเจอกันสักเท่าไหร่ แต่เนื่องจากวัฎจักรของชีวิต ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนมีกันทุกคน แต่เราจะทำอย่างไร ให้เราแก่ช้าลง หรือมีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ชราหรือแก่ลงไป เราจะได้หลีกเลี่ยงกัน
               ด้วยความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้มนุษย์ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นหลาย ๆ ช่องทาง ทำให้มนุษย์เราเริ่มหันมาสนใจและใส่ใจกับภาวะสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งพยามสรรหาสิ่งต่าง ๆ หรือ วิธีการปฏิบัติตัวต่าง ๆ เพื่อทำให้ร่างกายอ่อนวัย มีผิวพรรณสดใส นุ่มนวลอยู่นาน  เพื่อตอบโจทย์ความสวยและความหล่อนั่นเอง นายแพทย์ฮิพโพเครติส (Hippocrates) ชาวกรีก ได้กล่าวไว้ว่า “Let food be thy medicine and medicine be thy food” แปลว่า  ให้อาหารเป็นยา และยาคืออาหาร ” ขยายความได้ว่า การให้เรานำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ของอาหารนานาชนิดมาเป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างให้สุขภาพดีแข็งแรง 

             การทำงานของต่อมไร้ท่อและอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์จะค่อย ๆ ลดลง  ขณะที่เราอายุมากขึ้น พร้อม ๆ กับอาการที่บ่งบอกถึงความชราภาพของเรา อาทิ สมรรถภาพที่ถดถอย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ผิวพรรณเหี่ยวย่น ขณะที่ฮอร์โมนเจริญวัยลดลง จะเร่งให้กระบวนการแก่ตัวของร่างกายเกิดเร็วขึ้น เห็นได้ชัดว่า ฮอร์โมนเจริญวัย สำคัญมากสุขภาพพลานามัยของคนชรา

สาเหตุของความชรา
1. เกิดจากพฤติกรรมการดำรงชีพ เช่น การถูกแสงแดดซึ่งทำให้ร่างกายได้รับสาร UVที่ทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย เป็นต้น

2. เกิดจากอายุขัยทำให้สุขภาพเสื่อมถอยนั่นเอง  
          
          การที่ระบบต่อมไร้ท่อทำงานลดลง มีผลต่อการลดลงของระดับสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง Pituitary Grand

            การลดลงของฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกายเป็นสาเหตุหลักของความชรา  ยังมีผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกเสื่อมลง ไขมันสะสมมากขึ้น การทำงานของสมองด้อยลง และเกิดอาการของโรคชราตามมา

การป้องกันความชรา
           ความชรา คือโรคชนิดหนึ่งที่รักษาให้หายได้ หรืออีกแง่หนึ่ง เราสามารถฟื้นคืนความเป็นหนุ่มสาวได้  การทำงานของร่างกายและจิตใจที่ลดลงทำให้เกิดการแก่ตัว  ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้


โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน ของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่, การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์ ระดับของโกรทฮอร์โมน จะลดต่ำลงเมื่อ อายุมากขึ้น คือจะลดลง 14% ทุก 10 ปี มีผลทำให้เกิดการแก่ชรา และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชรา มีผลต่อการลดลงของสมรรถนะ และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว ดังนั้น  การเพิ่มโกรทฮอร์โมน เป็นหนทางการเพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวย ให้กับร่างกาย
โกรทฮอร์โมน ( H.G.H) ช่วยต้านและชะลอความเสี่ยงภายในได้


- เซลล์กล้ามเนื้อขยายตัวขึ้นและมีความแข็งแรงและบีบตัวได้ดีขึ้น
- ลดปริมาณ L.D.L ในกระแสเลือด
- ลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
- เพิ่มปริมาณ H.D.L ในกระแสเลือด
H.G.H ออกฤทธิ์คล้ายกับยาลดอาการซึมเศร้า ,เพิ่มสาร Endorphin ทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น หลับได้สนิท
- เร่งการทำงานของเซลล์สมองและยับยั้งการฝ่อลีบ ทำให้เพิ่มความจำ ช่วยป้องกันการสูญเสียความจำ
- ควบคุมและกระตุ้นระบบเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกัน อันได้แก่ ต่อมทอนซิล, ต่อมไทมัส, ต่อมน้ำเหลือง,ม้าม, ไขกระดูก, ไส้ติ่ง, เพเยอร์แพทซ์ ให้ทำงานดีขึ้น
H.G.H จะถูกแปรสภาพที่ตับให้เป็นสาร I.G.F – 1 มีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและอาการจากเบาหวาน
-ฟื้นฟูสภาพเซลล์ของไตและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่ายการยูริคส่วนเกินออกจากร่างกาย
- เร่งขบวนการสร้างเซลล์กระดูกให้เพิ่มจำนวนและหนาแน่นขึ้น
- ปรับปรุงควบคุมการทำงานของระบบฮอร์โมนทั้งเพศชาย, เพศหญิงให้ทำงานอย่างมีสมดุล ตลอดจนออกฤทธิ์บำบัดความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า, หดหู่



- เสริมสร้างภูมิชีวิตในลักษณะองค์รวมเพื่อช่วยต่อต้านมะเร็ง ได้แก่
: กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว, น้ำเหลือง เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายในรูปอิสระ, สารก่อมะเร็ง
: เสริมสร้างการซ่อมแซมเซลล์และอวัยวะส่วนที่สึกหรอหรือถูกทำลายจากสารก่อมะเร็ง
: ลดอาการซึมเศร้า, หดหู่และเพิ่มสมาธิด้วยฤทธิ์ของ H.G.H เองและสารเอ็นเดอร์ฟินที่หลั่งออกมามากขึ้นพร้อมๆ กับ H.G.H 
: นอนหลับได้ลึกขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยรวมเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
: เสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่ายและการเผาผลาญไขมัน, น้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย


นายแพทย์ Ronald klatz ประธาน The American  Academy of Anti-Aging Medicine ผู้แต่งหนังสือชื่อ "Grow Young with HGH" ระบุในหนังสือว่า "ปัจจุบันเราสามารถทำให้คนหนุ่มหรือ สาวขึ้นได้ถึง 10-20 ปี ในอดีตความแก่ชราถือว่าเป็น สัจธรรมของชีวิต คือ ทุกคนต้องแก่ แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ การแพทย์ถือว่า ความแก่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ สามารถรักษาได้" โกรทฮอร์โมนถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ชีวิตยืนยาว ซึ่งสัมพันธ์กับ วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ New England Journal of Medicine ว่า ร่างกายสามารถต่อต้านโรค และซ่อมแซมตัวเองได้ เมื่อมีระดับ HGH เพิ่มขึ้น ร่างกายสามารถฟื้นคืนความเป็นหนุ่มสาวได้ 10-20 ปี เมื่อเพิ่มระดับของ HGH ให้สูงขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน 6 เดือน 


          ในที่สุดนักวิจัยก็ได้หันกลับมาสู่วิถีทางเสริมสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ โดยปัจจุบันพบว่ามีอยู่ 6 แนวทางที่สามารถกระตุ้นต่อมพิทูอิทารี่ให้สร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมามากขึ้น แต่ละวิธีการล้วนแล้วแต่เราเองสามารถฝึกควบคุม จัดการ ได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญใดๆ ซึ่งทั้ง 6 แนวทางจะมีผลกระตุ้นต่อมไฮโปทาลามัสโดยตรง ต่อมไฮโปทาลามัสดังกล่าวอยู่ใต้สมองใกล้ๆ กับต่อมพิทูอิทารี่และปลดปล่อยฮอร์โมน GHRF ออกไปสั่งการให้ต่อพิทูอิทารี่ผลิตและสร้าง โกรทฮอร์โมนออกมา 



วิธีการทั้ง 6 นี้ ล้วนได้รับการยืนยันทางวิชาการว่าสามารถเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนได้ ยิ่งหากผสมวิธีการทั้ง 6 เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมแล้ว จะยิ่งได้ประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

1. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเข้านอนก่อนเที่ยงคืน ร่างกายของเราจะมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน จากต่อมไพเนียลในสมอง ประมาณ 4 ทุ่ม ส่งผลให้คนเรารู้สึกง่วง เมลาโทนินจะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งโกรท ฮอร์โมน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายขณะนอนหลับ โกรท ฮอร์โมนจะหลั่งมากในช่วง 90 นาทีแรกหลังจากการนอนหลับ หากเราไม่มีการหลับที่ดี หรือ หลับไม่สนิท หรือนอนดึก โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน ร่างกายก็จะไม่สร้างโกรท ฮอร์โมน เนื่องจากการหลั่งโกรท ฮอร์โมน มีความสัมพันธ์กับการหลับลึก และ เวลาในการนอน

2. รับประทานสารอาหารที่กระตุ้นการสร้างโกรท ฮอร์โมน ซึ่งมีหลายชนิด โดยเฉพาะกรดอะมิโนกลุ่มหนึ่ง เช่น แอลกลูตามีน (L-Glutamin) แอลไกลซีนแอไลซีน(L-Lysine) แอลอาร์จินีน (L-Arginine) และ แอลออร์นิทีน (L-Ornitine)


3. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 10 นาที เช่นเดินวันละ 10 – 30 นาที แกว่งแขนวันละ 200 ครั้ง เป็นต้น การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการสร้างโกรท ฮอร์โมนได้ แต่ต้องออกกำลังกายอย่างน้อย 10 นาที ต่อเนื่องกันและ ควรออกกำลังกายตอนเช้ามากกว่าตอนเย็น

4. งด หรือ ละเว้นสารอาหาร จำพวกแป้ง และ น้ำตาล เมื่อโกรท ฮอร์โมน ถูกหลั่งออกจากต่อมใต้สมอง มันจะยังอยู่ในรูปที่ใช้การไม่ได้ จนกว่าจะถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ มีชื่อว่า IGF – 1 (Insulin-Like Growth Factor) ซึ่งมีโครงสารเหมือนฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อเรารับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ร่างกายจะเข้าใจผิดว่าเรามีปริมาณโกรท ฮอร์โมนในกระแสเลือดเพียงพอแล้ว ร่างกายก็จะไม่ผลิตโกรท ฮอร์โมน สรุปได้ว่า ถ้าเราเป็นคนที่รับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะอาหารมื้อดึก จึงทำให้เราแก่ เราควรรับประทานอาหารเย็นให้เสร็จสิ้นก่อน 6 โมงเย็น และ ไม่ควรมีอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลในมื้อเย็น

5. การนั่งสมาธิช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรท ฮอร์โมน มีงานวิจัยว่า การนั่งสมาธิลึก อย่างน้อยประมาณวันละ 10 นาที จะช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งโกรท ฮอร์โมน นำไปสู่การย้อยวัย การป้องกันโรค การกระตุ้นภูมิต้านทาน และ การชะลอความชรา
6. ความอ้วนทำให้ลดการหลั่งโกรท ออร์โมน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ ความอ้วน จะยับยั้งการหลั่งโกรท ฮอร์โมน ผู้ที่ต้องการคืนกลับสู่การเป็นหนุ่มสาว หรือ ผู้ที่ต้องการย้อนวัย จำเป็นต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในน้ำหนักที่เหมาะสม จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งโกรท ฮอร์โมน คนอ้วนจะดูมีอายุกว่าคนผอม และ เมื่อเราผอมลง ร่างกายจะมีการหลั่งโกรท ฮอร์โมนมากขึ้น นำไปสู่การย้อนวัยได้

การได้รับสารอาหารบางชนิดสามารถช่วยกระตุ้นการหลัง โกรท ฮอร์โมน ในขณะที่เรานอนหลับได้


           การเสริมกรดอะมิโนให้กับร่างกายอย่างพอเพียง เพื่อกระตุ้นการสร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมน ปัจจุบันล่าสุดส่วนผสมของกรดอะมิโนที่นิยมใช้กันมากคือ L-Lysine, L-glutamine, L-Glycine, L-Phenylalanine, L-Carnitine, L-Arginine สารชื่อแปลกๆ ยาวๆ เหล่านี้คือชื่อทางเคมีของกรดอะมิโน เราลองมาศึกษาคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของกรดอะมิโนกันก่อน

ความรู้เกี่ยวกับกรดอะมิโน (Amino-acid) 
          เราทราบกันดีว่าโปรตีนเป็นอาหารหมวดสำคัญของร่างกายที่ช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้อ , ผิวหนัง , เส้นเอ็น , กระดูกอ่อน , ผม , เล็บ , ขน , ต่อมไร้ท่อ , อวัยวะทั่วร่างกาย , เลือด , น้ำเหลือง , เอ็นไซม์ , ฮอร์โมน ฯลฯ ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโปรตีนมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ ( ร่างกายประกอบด้วยน้ำ 70 %) แต่ร่างกายเราไม่สามารถนำโปรตีนจากอาหารไปใช้ได้โดยตรง เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดใหญ่เกินไป จำเป็นต้องย่อยสลายออกไปจนมีคุณสมบัติซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้งานได้ สารที่ถูกย่อยจากโปรตีนจนเล็กที่สุดนี่เอง เรียกว่า กรดอะมิโน ( Amino-acid)

          ดังนั้น กรดอะมิโนจึงนับเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมหาศาล ที่จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตทั้งกล้ามเนื้อ, กระดูก, ฟัน, ผม ฯลฯ

ระบบประสาททำงานได้, สมองสั่งการได้
มีภูมิคุ้มกัน – ภูมิชีวิตต้านทางโรคภัยและความเสื่อม
ทำให้วิตามินและแร่ธาตุออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้
          ในปัจจุบันการศึกษาพบว่ามีกรดอะมิโนประมาณ 28 ชนิด แต่ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการใช้มีอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียงโมเลกุลชนิดเวียนซ้าย (Levoform) ซึ่งมีอักษร L- กำกับหน้าชื่อ เช่น L-Glysine, L-Arginine ร่างกายเราสามารถนำกรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิดมาต่อเชื่อมเรียงโมเลกุลกัน เพื่อสรรค์สร้างโปรตีนได้มากมายหลายร้อยชนิดแตกต่างกัน เช่น โปรตีนภายในฮอร์โมน , โปรตีนกล้ามเนื้อ , โปรตีนเอ็นไซม์ การสร้างโปรตีนแตกต่างกันได้ก็เพียงอาศัยการจัดเรียงกรดอะมิโนไม่เหมือนกัน , ต่อเชื่อมด้วยตำแหน่งแตกต่างกัน

80% ของปริมาณกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องใช้ ตับสามารถผลิตและสังเคราะห์ขึ้นได้เองภายในร่างกาย

20 % ของปริมาณกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการใช้ ตับไม่สามารถสร้างได้ และจำเป็นต้องทางอาหารที่อุดมโปรตีนเข้าไปทดแทน เช่น L-Lysnine, L-phenylalanine ดังนั้นผู้ทานอาหารมังสวิรัติ จึงมักพบว่าร่างกายขาด L-Lysine เนื่องจาก L-Lysine ไม่พบในถั่วและธัญญพืช แต่พบในเนื้อปลาเนื้อสัตว์ ไข่ นม เป็นต้น

             ขบวนการสร้าง โกรทฮอร์โมนยิ่งต้องการใช้กรดอะมิโนมากขึ้น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของโกรทฮอร์โมนคือ “ กรดอะมิโนกว่า 191 ชนิด ” ขณะเดียวกันฮอร์โมนทั้งหลายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนจากตับ, ฮอร์โมนจากไต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนผสมของกรดอะมิโนหลายสิบชนิดไปจนถึงหลายร้อยชนิด ตามความซับซ้อนของหน้าที่ฮอร์โมนหรือเอนไซม์

ส่วนผสมสำคัญๆ ที่ช่วยเสริมต่อมพิทูอิทารี่ให้สร้างโกรทฮอร์โมนได้มีคุณสมบัติแยกพิจารณาเป็นรายตัวดังนี้

ชื่อส่วนประกอบ ลักษณะโดยทั่วไปและประสิทธิภาพ และ คุณประโยชน์ต่อร่างกาย

L-Lysine แอส - ไลซีน 
เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ต้องทานอาหารเข้าไปเสริมทดแทน
พบในอาหารจำพวกถั่ว, เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อสัตว์ปีก, นม
ใช้เสริมให้กับผู้ป่วยโรคหวัดและเสริมเพื่อเร่งฟื้นฟูร่างกายให้หายเร็วขึ้น

จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างโปรตีน
เสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูกและร่างกาย, ช่วยการดูดซึมแคลเซียม
ควบคุมระดับไนโตรเจนให้สมดุล
เสริมสร้างการผลิตแอนตี้บอดี้ฮอร์โมน, เอ็นไซม์, คอลลาเจน, การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ลดไตรกลีเซอร์ไรด์ในกระแสเลือด

L-Glutamine แอล – กลูตามีน 
มักพบอยู่บริเวณผิวภายนอกของโปรตีนและเอ็นไซม์  เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองและพบมากที่สุดในกล้ามเนื้อ  ซึมเข้าสู่สมองได้ดีมาก โดยจะใช้เสริมอาหารกับนักเพาะกาย นักกีฬา และผู้กำลังจำกัดอาหารลดน้ำหนัก

เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์สมองได้ดีมากและช่วยขับถ่ายของเสียออกจากสมอง
ควบคุมภาวะกรด/ด่างในเลือด ช่วยรักษาอาการไขข้ออักเสบ, กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติ, มะเร็ง, ลมชัก, สมรรถภาพทางเพศเสื่อม, จิตหวาดระแวง
ป้องกันการฝ่อลีบตัวของกล้ามเนื้อ

L-Arginine แอล- อาร์จินีน 
พบในอาหารพวกข้าวกล้อง, ถั่วลิสง. ข้าวสาลี, ผลองุ่นแห้ง พบได้มากภายในผิวหนังและเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง 

1.ช่วยกระตุ้นร่างกายสร้างโกทฮอร์โมนเพิ่มขึ้น
2.ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซมผิวหนัง, กระดูก, เส้นเอ็น, กล้ามเนื้อ
3.ช่วยเร่งการขับถ่ายไนโตรเจนส่วนเกิน ซึ่งเกิดจากโปรตีนออกจากเซลล์
ลดไขมัน, เพิ่มกล้ามเนื้อ เร่งตับอ่อนหลั่งอินซูลิน เผาผลาญน้ำตาลในกระแสเลือด

L-Glycine แอล - ไกลซีน 
เป็นกรดอะมิโนที่พบมากเป็นอันดับสองในโปรตีนและเอ็นไซม์
ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโนมากมายหลายชนิด
ทำให้ร่างกายโดยรวมมีพลังงานเพิ่มขึ้น

  • จำเป็นต่อการสังเคราะห์กรดอะมิโนตัวอื่นๆ และกรดน้ำดี 
  • จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสมอง 
  • จำเป็นต่อการสร้าง DNA, RNA และกล้ามเนื้อ 


L-Phenlalanine แอล - เฟนิลอลานีน 
          เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ มีคุณสมบัติดูดซับรังสี U.V. ได้ดี
จำเป็นต่อการสังเคราะห์กรดอะมิโนอื่นๆ
ใช้เสริมการรักษาไขข้ออักเสบ, ซึมเศร้า, ปวดประจำเดือน, ปวดไมเกรน, โรคพาร์คินสัน
           ช่วยในการสังเคราะห์สารตัวนำสัญญาณจากสมอง 2 ตัวคือ โดปามีน และ นอร์อิพิเนฟฟริน ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง, อารมณ์สดชื่น, ลดความปวดเมื่อย, ช่วยความจำ, ลดความอยากอาหาร

L-Carnitine แอล – คาร์นิทีน 
          มีโครงสร้างและคุณสมบัติต่างไปจากกรดอะมิโน ทั่วไป และไม่ได้ใช้ในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนและเอ็นไซม์   พบในอาหารจำพวกนม, เนื้อสัตว์ ร่างกายสามารถสังเคราะห์จากกรดอะมิโน เช่น ไลซีน และ เมทิโอนีน, วิตามิน B-1, B-6, วิตามิน C มักเสริมให้กับผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจ เสริมฤทธิ์การทำงานของวิตามินซี, อี
         คนทานมังสวิรัติมักขาดคาร์นิทีน เพราะในผักมีปริมาณไลซีน, เมทิโอนีนน้อยมาก ไม่เพียงพอ
         เป็นสื่อกลางที่ช่วยเหลือการขนส่งกรดไขมันเข้าสู่เซลล์  เพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญไขมันให้เป็นแหล่งพลังงานจึงช่วยลดไขมันในกล้ามเนื้อหัวใจป้องกันโรคหัวใจ
ป้องกันการเกิดไขมันสะสมในตับ เนื่องจากแอลกอฮอลล์, ป้องกันโรคตับแข็ง
ลดไขมันในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มักจะมีภาวะไขมันเกิน และลดไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันในกระแสเลือด

วิตามินซี ( กรดแอสคอร์บิค ) 
          เป็นวิตามินละลายได้ในน้ำ ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น  ใช้เสริมการรักษาไขหวัด, เหงือกอักเสบ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย เสริมประสิทธิภาพการดูดซึมของกรดอะมิโน ช่วยเสริมประสิทธิภาพของพรอสต้าแกลนดินในการขยายหลอดลม ช่วยลดอาการแน่นหน้าอกของผู้ป่วยโรคหืดหอบ ลดปริมาณคลอเรสโตรอลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่อต้านและยับยั้งอันตรายจากพิษของยาปฏิชีวนะ, สเตียรอยด์, บุหรี่


วิตามินปี 6 ( ไพริดอกซิน- ไฮโดรคลอไรด์ ) 
      มีการขนานนามว่าเป็นวิตามินแห่งชีวิต เพราะจำเป็นต่อเลือดและเส้นเลือดเกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเอ็นไซม์มากกว่า 60 ชนิด ในขบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโนและกรดไขมันภายในร่างกาย  จำเป็นต่อการย่อยแปรสภาพโปรตีนภายในอาหารให้กลายเป็นกรดอะมิโน  ช่วยเสริมสร้างความสมดุลของปริมาณเกลือแร่ โปรตัสเซียม , โซเดียมที่จำเป็นต่อระบบการสั่งงานขอประสาทและสมอง

Beta-Carotine ( วิตามิน A) 
           ทราบกันมานานว่าช่วยป้องกันการติดเชื้อและช่วยเพิ่มการมองเห็นตอนกลางคืน
ด่านแรกในการป้องกันการรุกรานของเชื้อโรคและสารพิษ และเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย  จำเป็นต่อการเสริมสร้างกระดูก , ฟัน , เนื้อเยื่อ กำจัดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
สริมประสิทธิภาพการดูดซึมของกรดอะมิโน ซึ่งเบต้าคาโรทีนเป็นโภชนาหารที่จำเป็นต่อเซลล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น