วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการเขียนแผนผังความคิด (Mind Map)

Mind map เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองมา ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยเฉพาะเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ การเขียนแผนที่ความคิด เกิดจากการใช้ทักษะ ทั้งหมดของสมอง เป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง สองซีก คือ สมองซีกซ้ายและซีกขวา 2 สมองซีกขวา จะทำหน้าที่ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ สมองซีกซ้ายจะ ทำหน้าที่ในการ วิเคราะห์ คำ ภาษา สัญลักษณ์ลำดับ ระบบ ความเป็นเหตุเป็นผล ตรรกวิทยา Mind map : ความเป็นมา
ความเป็นมา

              โทนีบูซาน (Tony Buzan) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดริเริ่ม นำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้กับ การเรียนรู้ของเขา (พ.ศ. 2517) โดยพัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ที่จดบันทึกเป็นตัวอักษรเป็นบรรทัด ๆ เป็นแถว ๆ เปลี่ยนมาเป็นบันทึกด้วยคำภาพ สัญลักษณ์แบบแผ่รัศมีออกรอบๆ ศูนย์กลางเหมือน การแตกกิ่งก้านของต้นไม้/ การแตกของ เซลสมอง โดยใช้สีสัน ต่อมาโทนี บูซาน พบว่า วิธีที่เขาใช้นั้นสามารถ นำไปใช้กับกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในชีวิตส่วนตัว และชีวิต การงาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การช่วยจำ การแก้ปัญหา การนำเสนองาน และการเขียนหนังสือ เป็นต้น
อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์เป็นผู้นำ ความคิดและวิธีการเขียนแผนที่ความคิด เข้ามาใช้และเผยแพร่ในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2541
วัตถุประสงค์ 
            เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ จัดระเบียบความคิด.ให้สืบทอดและยาวไกล

การสร้างผังความคิด (Concept Mapping)




ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป

การสร้าง แผนที่ความคิด หรือ Mind Map

ขั้นตอนการสร้าง Mind Map 
1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ




ข้อควรจำ :  การเขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

กฏการสร้าง Mind Map
1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ ก่อนคำ หรือรหัส    เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
5. คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและ      ยืดหยุ่นได้มากขึ้น
6. ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


แบบวิธีการเขียน Mind Map อีกประการหนึ่ง ดังนี้
1.เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
2.วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง     หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3.คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5.แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
6.การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน
7.คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
การนำไปใช้
1. ใช้ระดมพลังสมอง
2. ใช้นำเสนอข้อมูล
3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
                ปัญหาที่มักพบในการบันทึกความคิดสรุปด้วย Mind Map

ในการบันทึกความคิดสรุปด้วย Mind Map หรือแผนที่ความคิดนั้น ทั้งจากประสบการณ์ของตัวเขียนเอง และคำถามจากผู้ได้ลองปฏิบัติมักคล้ายคลึงกัน พอที่จะสรุปได้ดังนี้
                1. ฟังไม่ทัน
                2. จับประเด็นไม่ถูก แยกไม่ออก ไม่รู้ว่าควรเป็นหมวดใด กลุ่มใด
                3. ไม่รู้ว่าจะวางเรื่องอย่างไร อันไหนควรเป็นเรื่องหลัก เรื่องรองหรือเรื่อง
            ย่อย ๆลงมา
                               
 แนวทางแก้ไข
                 จากประสบการณ์ที่เคยทดลองใช้ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเคยเสนอแนะเทคนิคไว้ พอสรุปทางออกของปัญหาเหล่านี้ได้ดังนี้
1. การทำความเข้าใจภาพรวมใหญ่ทั้งหมดของเรื่องก่อน จะช่วย
   ให้เราเห็นโครงสร้างต่าง ๆ ของเรื่องนั้นชัดเจนขึ้น
2. ผู้บันทึกความคิดต้องมีสมาธิสูง มีความนิ่งมากพอที่จะทำให้จิตใจจดจ่อตั้งมั่นอยู่กับเรื่องที่กำลังฟัง พยายามจับประเด็นให้ได้แก่นหรือหัวใจสำคัญของเรื่องนั้น ๆ แล้วจึงถอดสรุปเป็นคำสั้น ๆ
3. ใช้วิธีสำรวจคร่าว ๆ ในระหว่างที่สมาชิกผู้ร่วมเรียนรู้กำลังระดม
    สมอง คิดดูว่าในแต่ละกลุ่มย่อยนั้น เขามีประเด็นที่คุยกันหลัก ๆ   
    เรื่องอะไรบ้างแล้วบันทึกหัวข้อไว้ในกระดาษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลใน
    การวางภาพรวมต่อไป
4. หมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ผู้เขียนสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานภาคประชาชน
    สังคมหลายท่านที่ใช้วิธีการบันทึกแบบ Mind Map เป็นประจำ
    ไม่ว่าประเด็นในการประชุม อบรม สัมมนา แม้กระทั่งการตั้งวงคุย  
    ในเรื่องจิปาถะ ไปจนถึงปิ๊ง แวบ อะไรขึ้นมาได้ แล้วต้องบันทึกไว้
    กันลืม ก็ยังเป็นรูปแบบของแผนที่ความคิด การฝึกบ่อย ๆ จะช่วย 
    ให้เกิดทักษะ มีความชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ

          สรุป  Mind Map เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาคนให้สามารถคิดได้เก่งขึ้น สามารถคิดได้กว้าง เกิดการคิดที่ละเอียดถี่ถ้วน มีความเชื่อมโยง เกิดพลังสมอง คิดสร้างสรรค์ได้มาก โดยเฉพาะเวทีของการระดมความคิด จะเห็นได้ว่าการต่อยอดความคิดของกันและกันอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยให้เกิดการแตกแขนงความคิดออกไปไม่รู้จบ ดังนั้น Mind Map เป็นเรื่องราวของทักษะวิธีการฝึกคิดและฝึกเขียน อันจะนำไปสู่การพัฒนางานที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งต่อไป

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาของไทยจากอดีตสู่ยุค 4.0

            วิวัฒนาการการจัดการศึกษาไทย ได้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยแต่ละยุคแต่ละ
สมัยการศึกษาประวัติและวิวัฒนาการศึกษาของไทยที่ผ่านมา เพื่อที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการจัดศึกษาของไทยยุคสมัยโบราณ การจัดการศึกษา
สมัยกรุงสุโขทัย การจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
ตอนต้น การจัดการศึกษาของไทยสมัยปฏิรูป ยุคแรกเริ่ม ยุคขยายงาน ยุคแสวงหา ยุคพัฒนา ยุคแห่ง
ความหวัง การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน

แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยโบราณ
การศึกษาไทยยุคสมัยโบราณ จัดการศึกษาที่ไม่มีระบบและแบบแผน คือ ไม่มีระบบโรงเรียน และชั้นเรียน วัดเป็นแหล่งให้ความรู้ มีพระภิกษุเป็นผู้สอนเพียงเพื่อประกอบอาชีพ วิชาความรู้ส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดไม่มีการจดบันทึกไว้ ใช้ความสามารถในการท่องจำมากกว่า ซึ่งการจัดการศึกษาสมัยโบราณไม่มีแบบแผนและรูปแบบที่ชัดเจน จึงทำให้การศึกษาไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากนัก

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1983) การศึกษาที่สำคัญคือ การกำเนิดอักษรไทยครั้งแรกคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สถานที่เรียน 3 แห่งคือ สำนักสงฆ์ต่อมาเป็นวัด อีกแห่งหนึ่งคือ สำนักปราชญ์ราชบัณฑิต และท้ายสุดคือ ราชสำนัก และการจัดแบ่งการศึกษาเป็น 4 องค์คือ
           จริยศึกษา  สอนศีลธรรมจรรยา เน้นหลักพุทธศาสนาแบบหินยาน พระภิกษุเป็นผู้สอน สถานศึกษาที่สำนักสงฆ์หรือวัด เน้นการปฏิบัติ
          พลศึกษา  สอนผู้ชายสำหรับป้องกันตัวใช้ในเวลาศึกสงคราม
          พุทธิศึกษา  ศึกษาจากวัด มีพระภิกษุเป็นผู้สอน การอ่าน เขียน ภาษาไทยภาษาบาลี และวิชาความรู้เบื้องต้น
          หัตถศึกษา  สอนผู้หญิง พ่อแม่ที่มีความรู้ด้านอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือทำมาหากิน และสืบวงศ์ตระกูล อาทิ งานประดิษฐ์ เย็บปักถักร้อย และทอผ้า

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310)มีจัตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา มีระบบศักดินา และการจัดการศึกษาที่วัด และบ้าน มีหน้าที่อบรมเด็กนักเรียน อีกทั้งได้ติดต่อกับฝรั่งชาติตะวันตก ค้าขายและเผยแพร่ศาสนา มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกรับวิชาการแบบยุโรป และแต่งแบบเรียนคือ จินดามณี เล่มแรกของไทย

การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-2325) มีการเปลี่ยนแปลงไม่เด่นชัด ชาวบ้านที่มีฐานะดีและข้าราชการ นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด และการจัดการศึกษาตอนต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มนำวิทยาการใหม่ ๆ จัดพิมพ์ตำราเรียน เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษาของไทย

แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยปฏิรูป
แนวคิดการปฏิรูปการจัดการศึกษาของไทย เกิดขึ้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และทำให้เกิดระบบโรงเรียนขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งการจัดการศึกษาเดิมอยู่วงจำกัดเฉพาะชาวบ้านที่มีฐานะดีและบุตรข้าราชการ และคนที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นคนชั้นสูง ประชาชนโดยทั่วไปขาดโอกาสมากและมีผลจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453)

ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย: ก้าวแรก
ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย ก้าวแรก (พ.ศ. 2435-2475) การจัดการศึกษาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนคือ “โรงเรียน” และกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่จัดการศึกษา ประกอบกับมีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับสำหรับราษฎรทุกคนทุกพื้นที่ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อรับราชการและการประกอบอาชีพตามที่ตนถนัด เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาให้เป็นระบบสู่รูปแบบที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ยุคขยายงานของการศึกษาไทย : ก้าวที่สอง
ยุคขยายงานของการศึกษาไทย ก้าวที่สอง (พ.ศ. 2475-2503) การจัดการศึกษาเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับออกให้กว้างขวางขึ้น ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ภายหลังได้มีการเร่งรัดปรับปรุงการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน ไปสู่การพัฒนาประเทศที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

ยุคแสวงหา: เป็นการแสวงหาแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษา
ยุคแสวงหา การจัดการศึกษาในปี พ.ศ.2503-2520 ได้ขยายการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลผลักดันให้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1-3 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ มุ่งพัฒนาคนได้จัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง และขยายการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพมาตรฐาน ที่ส่งเสริมด้านจริยธรรม คุณธรรม และมีวินัยรวมทั้งสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ อีกทั้งจัดตั้งมหาวิทยาลัยและ ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ยุคพัฒนา: การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
ยุคพัฒนา การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (พ.ศ. 2520-2541) ยุคพัฒนา ที่มีความพยายามเพื่อที่จะนำเอาแนวคิดของนักการศึกษาไทยมาใช้ในการจัดการศึกษาของชาติ โดยนำบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนบริบทของสังคมไทยที่เหมาะสม และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 1-6 จัดให้เป็นระบบสากล ขยายโอกาสทางการศึกษาทุกกลุ่ม อุดมศึกษาขยายไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อเปิดโอกาสทุกคนทุกอาชีพได้มีความรู้กว้างมากยิ่งขึ้น และมีพระราชบัญญัติการศึกษาครั้งแรก ที่สอดรับกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

ยุคแห่งความหวัง: การปฏิรูปการศึกษา
ยุคแห่งความหวังการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) เปลี่ยนองค์กร เดิม 14 เหลือเพียง 5 องค์กรและตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปฏิรูป 3 ระยะคือ จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนสำนักปฏิรูปเป็นสำนักงานโครงการนำร่อง และประกาศเขตพื้นที่การศึกษา อีกทั้งปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา กระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้นประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมจัดการศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทุกระดับ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังของคนไทยในเรื่องของคุณภาพของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ซึ่งเพื่อนำพาประเทศไปสู่สากล

การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน
การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน (พ.ศ.2558) การเตรียมประเทศเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่เกิดจากผู้นำ 5 ประเทศคือ ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ สร้างความตระหนัก หลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เตรียมบุคลากรครูและนักเรียนเพื่อรองรับ และขยายโอกาสทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์
     
ทำอย่างไรระบบการศึกษาของไทยยุค 4.0 จะขับเคลื่อน
            ในศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลที่สร้างความเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วและคลอบคลุมหลายมิติ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกต่างตระหนักว่ารูปแบบการศึกษาที่ใช้วิธีการแบบก่อนศตวรรษที่ 21 นั้นด้อยประสิทธิภาพ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของโลกได้อีกต่อไป
             เช่นเดียวกับในสังคมไทยที่กำลังเรียกร้องการจัดการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญต่อการอยู่รอดในยุคโลกาภิวัฒน์ ได้แก่ ทัศนคติใฝ่การเรียนรู้ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการทำงานเป็นทีม รวมถึงความรู้พื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งตลอดระยะเวลาหลาย 10 ปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามของภาครัฐ ภาคประชาสังคม มูลนิธิ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และภาคเอกชนจำนวนหนึ่ง ที่ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงคุณภาพและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่เด็กไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยหมดหวังกับการปฏิรูปการศึกษา  ประเทศไทยจึงต้องการแนวทางปฏิรูปในรูปแบบใหม่ๆ ด้วยหลักคิดที่ต่างไปจากเดิมและเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน
แผนการศึกษาฉบับปัจจุบัน มุ่งให้เด็กเกิดทักษะ 3R และ 8C ดังนี้
3R คือ    Reading (อ่านออก) ,(W)Riting (เขียนได้) , (A)Rithenmatics (คิดเลขเป็น)
8C คือ
  1. Critical Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
  2. Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
  3. Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ  
  4. Communication Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
  5. Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
  6. Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอย่างมากหรือเป็น Native Digital ส่วน คนรุ่นเก่าหรือผู้สูงอายุเปรียบเสมือนเป็น Immigrant Digital แต่เราต้องไม่อายที่จะเรียนรู้แม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม
  7. Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
  8. Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย
Thailand 4.0 เป็นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยในยุค 1.0 เป็นยุคเกษตรกรรม จากนั้นกลายเป็นยุค 2.0 ที่มีการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยงานหรือเป็นยุคของอุตสาหกรรมเบา ในขณะที่ยุค 3.0 เป็นยุคอุตสาหกรรมหนักและมีการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในยุค 3.0 ยังมีความเปราะบางต่อสถานการณ์โลก และประเทศไทยยังไม่สามารถก้าวข้ามความเป็นประเทศรายได้ปานกลางได้ ดังนั้นจึงนำมาสู่ Thailand 4.0 ที่เน้นที่การแก้ปัญหาให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง เราจึงต้องพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า New Economy Model มีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประชาชนสามารถสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง ต้องมีการปฏิรูปทั้งโครงสร้างในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น ภาคธุรกิจ การเกษตร การศึกษา และแรงงาน จากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตโดยใช้แรงงาน เครื่องจักรและทรัพยากร เปลี่ยนมาเป็นการผลิตบนฐานความรู้และเทคโนโลยี  โดยมีการดึง สถาบันวิจัยระดับโลกเข้ามาตั้งในประเทศไทย และมีความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน ให้มากขึ้นที่เรียกว่าประชารัฐ โดยมีเป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายใน 3-5 ปี
            ในการสร้างโมเดล Thailand 4.0 หรือ "ไทยแลนด์ 4.0" ที่เป็น Value-based Economy นั้น ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ อุตสาหกรรมหลักได้แก่
1. Food, Agriculture & Bio-tech
2. Health, Wellness & Bio-Medical
3. Smart Devices, Robotics & electronics
4. Digital & Embedded Technology
5. Creative, Culture & High Value Service
การศึกษาไทย 1.0 เป็นยุคการศึกษาเพื่อสร้างนักปกครอง เป็นการศึกษาสำหรับชนชั้นสูงในสังคม โดยมีการจัดการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการให้กับบุตรหลานชนชั้นปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นนักปกครองในรุ่นต่อไป การศึกษาในยุคนี้ไม่เป็นที่แพร่หลาย มีการจัดการศึกษาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น รูปแบบการจัดการศึกษาเป็นแบบบอกความรู้จากผู้สอน ถ้าผู้สอนไม่มีอะไรจะสอนแล้ว ถือว่าสำเร็จการศึกษา
การศึกษาไทย 2.0 เป็นยุคแห่งการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างขึ้น เพตุจากการจัดการศึกษาในยุค 1.0 นั้น ไม่สามารถผลิตกำลังคนได้ทันต่อความต้องการในการบริหารราชการบ้านเมือง ทำให้ชนชั้นปกครองต้องแก้ปัญหาด้วยการจัดให้มีการศึกษาสำหรับลูกหลานขุนนางชั้นสูง เพื่อผลิตกำลังคนป้อนเข้าสู่ระบบราชการ    ที่นับวันจะขยายขอบเขตงานเพิ่มมากขึ้น ตามความเจริญและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคนั้น รูปแบบการจัดการศึกษาเริ่มมีระบบโรงเรียน แต่ยังเป็นการเรียนแบบบอกความรู้จากผู้สอนอยู่เช่นเดิม
  การศึกษาไทย 3.0 ในยุคนี้เป็นยุคที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเบาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเหตุให้การศึกษายุคนี้ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม เกิดการทำซ้ำบัณฑิตอย่างมโหฬาร เป็นเหตุให้เกิดความตกต่ำของบัณฑิตในทุกระดับ ทุกสถาบันการผลิต โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นแบบทางการเหมือนสายพานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
  การศึกษาไทย 4.0 การศึกษายุคนี้ ควรเป็นการศึกษาเพื่อการสร้างนวัตกรรม เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการศึกษาเพื่อสังคม ที่คนที่ได้รับการศึกษานั้นต้องหันมาช่วยเหลือสังคมอย่างจริงจัง และกว้างขวาง โดยที่ไม่ใช่การศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์ใด วัตถุประสงค์หนึ่งดังเช่นที่ผ่านมา และการจัดการศึกษาต้องบูรณาการทั้งศาสตร์ ศิลป์ ชีวิต และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เพื่อสร้างคนที่สังคมต้องการได้ในทุกมิติ และมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน โดยครูอาจจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป หรือถ้าจำเป็นต้องมีก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทไปอย่างมาก
            อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยควรสร้างและพัฒนาคน ให้สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ มาปะติดปะต่อและประยุกต์เข้ากับงานที่ทำ สามารถต่อยอดและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ มีเพื่อนฝูงมีการติดต่อประสานงานกันได้นั่นคือ Internet ซึ่งทั้งหมดก็คือคุณสมบัติหลักๆ ของบุคลากรที่ตลาดแรงงานในยุค Industry 4.0 ต้องการ อาทิเช่น ช่วยกันปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนในโรงเรียน จากระบบการท่องจำและบรรยายโดยการที่ไม่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง มาเป็นระบบที่สอนให้ผู้เรียนได้หัดคิด หัดทำ สามารถที่จะโต้ตอบด้วยเหตุผลได้ เรียกว่า การคิดสร้างสรรค์ แต่ก็ยังคงต้องมีกรอบให้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมในสังคมด้วย นั่นคือ การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างนวัตกรรมแข่งขันกับชาติอื่นๆ ได้ 
             เชื่อมโยงกับแนวคิดของการพัฒนาคนต่อว่าประเทศไทยน่าจะมี learning community เพื่อสร้าง ecosystem ที่นำเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน โดยสามารถดำเนินการได้ทั้งกลุ่มนักเรียน ครู และผู้ปกครอง เช่น กลุ่มผู้ปกครองอาจมีการพูดคุยปรึกษากัน และเข้ามาช่วยเติมเต็มด้านการเรียนให้กับลูกได้” รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาในอนาคตให้เกิดทักษะที่ดีแก่นักเรียน เช่น การแก้ปัญหาซับซ้อน การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ที่หุ่นยนต์ไม่สามารถจะกระทำได้  รวมถึงห้องเรียนในอนาคตที่จะเน้นพัฒนาศักยภาพของปัจเจกบุคคล และควรถูกกำหนดโดยนักเรียนซึ่งเป็นคนอยู่ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ควรเสนอให้มีการปรับกฎระเบียบและนโยบายได้อย่างคล่องตัว โดยสอดคล้องกันทั้งด้านหลักสูตร สื่อการสอน บุคลากร การเงิน การสอบ การประเมินผล และอื่น ๆ ตลอดถึงความมีอิสระในด้านการย่อส่วนการปฏิรูปส่วนกลางมาสู่ปฏิรูประดับพื้นที่ (Education Reform Sandbox) ทำให้โรงเรียนในพื้นที่มีอิสระในการจัดการเรียนการสอน พร้อมเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้บริหารและคณะครูผู้สอน โดยอาจดึงภาคีต่าง ๆ มาช่วยโรงเรียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น”
การจัดการศึกษาที่ดีควรทบทวนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานรวมทั้งการเชื่อมโยงถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
 ่ส่งเสริมการสร้างความตระหนักและการเข้าใจของสังคมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม รวมทั้งการพัฒนา
ศักยภาพของผู้สอนอย่างต่อเนื่อง " คนมีคุณภาพ นั่นคือ การก้าวที่ดี....ควรก้าวด้วยนโยบายที่เป็นรูปธรรม 
ไม่ใช่นามธรรม ปัญหาและความต้องการทุกระดับ รวมทั้งผู้เรียน ครอบครัวและชุมชน ควรเกิดจากทุกภาค
ส่วนโดยเฉพาะภาคส่วนพื้นที่โดยตรงไม่ใช่เฉพาะส่วนกลาง และควรมุ่งประเด็นการพัฒนาเป้าหมายใน
มิติของคุณภาพและปริมาณในทุกๆระดับการศึกษาให้เกิดความต่อเนื่องโดยอ้างอิงจากระบบรายงานและ
ระบบนิเทศติดตามเยี่ยมเพื่อนำไปสู่กระบวนการศึกษาวิจัยและการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องทั้งในด้านคน 
สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาที่มีและพร้อมใช้ รวมถึงปัจจัยการสนับสนุนจากทุกภาคีเครือ
ข่าย อันจะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาจริงจัง....สุดท้ายผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อแรงงานได้อย่าง
เป็นรูปธรรม "

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ทำอย่างไรให้อายุยืน อ่อนเยาว์

              เมื่อพูดถึงความแก่ความชรา (Theories of aging) ขึ้นมา คงไม่มีใครอยากที่จะพบเจอกันสักเท่าไหร่ แต่เนื่องจากวัฎจักรของชีวิต ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนมีกันทุกคน แต่เราจะทำอย่างไร ให้เราแก่ช้าลง หรือมีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ชราหรือแก่ลงไป เราจะได้หลีกเลี่ยงกัน
               ด้วยความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้มนุษย์ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นหลาย ๆ ช่องทาง ทำให้มนุษย์เราเริ่มหันมาสนใจและใส่ใจกับภาวะสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งพยามสรรหาสิ่งต่าง ๆ หรือ วิธีการปฏิบัติตัวต่าง ๆ เพื่อทำให้ร่างกายอ่อนวัย มีผิวพรรณสดใส นุ่มนวลอยู่นาน  เพื่อตอบโจทย์ความสวยและความหล่อนั่นเอง นายแพทย์ฮิพโพเครติส (Hippocrates) ชาวกรีก ได้กล่าวไว้ว่า “Let food be thy medicine and medicine be thy food” แปลว่า  ให้อาหารเป็นยา และยาคืออาหาร ” ขยายความได้ว่า การให้เรานำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ของอาหารนานาชนิดมาเป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างให้สุขภาพดีแข็งแรง 

             การทำงานของต่อมไร้ท่อและอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์จะค่อย ๆ ลดลง  ขณะที่เราอายุมากขึ้น พร้อม ๆ กับอาการที่บ่งบอกถึงความชราภาพของเรา อาทิ สมรรถภาพที่ถดถอย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ผิวพรรณเหี่ยวย่น ขณะที่ฮอร์โมนเจริญวัยลดลง จะเร่งให้กระบวนการแก่ตัวของร่างกายเกิดเร็วขึ้น เห็นได้ชัดว่า ฮอร์โมนเจริญวัย สำคัญมากสุขภาพพลานามัยของคนชรา

สาเหตุของความชรา
1. เกิดจากพฤติกรรมการดำรงชีพ เช่น การถูกแสงแดดซึ่งทำให้ร่างกายได้รับสาร UVที่ทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย เป็นต้น

2. เกิดจากอายุขัยทำให้สุขภาพเสื่อมถอยนั่นเอง  
          
          การที่ระบบต่อมไร้ท่อทำงานลดลง มีผลต่อการลดลงของระดับสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง Pituitary Grand

            การลดลงของฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกายเป็นสาเหตุหลักของความชรา  ยังมีผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกเสื่อมลง ไขมันสะสมมากขึ้น การทำงานของสมองด้อยลง และเกิดอาการของโรคชราตามมา

การป้องกันความชรา
           ความชรา คือโรคชนิดหนึ่งที่รักษาให้หายได้ หรืออีกแง่หนึ่ง เราสามารถฟื้นคืนความเป็นหนุ่มสาวได้  การทำงานของร่างกายและจิตใจที่ลดลงทำให้เกิดการแก่ตัว  ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้


โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน ของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่, การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์ ระดับของโกรทฮอร์โมน จะลดต่ำลงเมื่อ อายุมากขึ้น คือจะลดลง 14% ทุก 10 ปี มีผลทำให้เกิดการแก่ชรา และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชรา มีผลต่อการลดลงของสมรรถนะ และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว ดังนั้น  การเพิ่มโกรทฮอร์โมน เป็นหนทางการเพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวย ให้กับร่างกาย
โกรทฮอร์โมน ( H.G.H) ช่วยต้านและชะลอความเสี่ยงภายในได้


- เซลล์กล้ามเนื้อขยายตัวขึ้นและมีความแข็งแรงและบีบตัวได้ดีขึ้น
- ลดปริมาณ L.D.L ในกระแสเลือด
- ลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
- เพิ่มปริมาณ H.D.L ในกระแสเลือด
H.G.H ออกฤทธิ์คล้ายกับยาลดอาการซึมเศร้า ,เพิ่มสาร Endorphin ทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น หลับได้สนิท
- เร่งการทำงานของเซลล์สมองและยับยั้งการฝ่อลีบ ทำให้เพิ่มความจำ ช่วยป้องกันการสูญเสียความจำ
- ควบคุมและกระตุ้นระบบเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกัน อันได้แก่ ต่อมทอนซิล, ต่อมไทมัส, ต่อมน้ำเหลือง,ม้าม, ไขกระดูก, ไส้ติ่ง, เพเยอร์แพทซ์ ให้ทำงานดีขึ้น
H.G.H จะถูกแปรสภาพที่ตับให้เป็นสาร I.G.F – 1 มีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและอาการจากเบาหวาน
-ฟื้นฟูสภาพเซลล์ของไตและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่ายการยูริคส่วนเกินออกจากร่างกาย
- เร่งขบวนการสร้างเซลล์กระดูกให้เพิ่มจำนวนและหนาแน่นขึ้น
- ปรับปรุงควบคุมการทำงานของระบบฮอร์โมนทั้งเพศชาย, เพศหญิงให้ทำงานอย่างมีสมดุล ตลอดจนออกฤทธิ์บำบัดความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า, หดหู่



- เสริมสร้างภูมิชีวิตในลักษณะองค์รวมเพื่อช่วยต่อต้านมะเร็ง ได้แก่
: กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว, น้ำเหลือง เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายในรูปอิสระ, สารก่อมะเร็ง
: เสริมสร้างการซ่อมแซมเซลล์และอวัยวะส่วนที่สึกหรอหรือถูกทำลายจากสารก่อมะเร็ง
: ลดอาการซึมเศร้า, หดหู่และเพิ่มสมาธิด้วยฤทธิ์ของ H.G.H เองและสารเอ็นเดอร์ฟินที่หลั่งออกมามากขึ้นพร้อมๆ กับ H.G.H 
: นอนหลับได้ลึกขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยรวมเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
: เสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่ายและการเผาผลาญไขมัน, น้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย


นายแพทย์ Ronald klatz ประธาน The American  Academy of Anti-Aging Medicine ผู้แต่งหนังสือชื่อ "Grow Young with HGH" ระบุในหนังสือว่า "ปัจจุบันเราสามารถทำให้คนหนุ่มหรือ สาวขึ้นได้ถึง 10-20 ปี ในอดีตความแก่ชราถือว่าเป็น สัจธรรมของชีวิต คือ ทุกคนต้องแก่ แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ การแพทย์ถือว่า ความแก่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ สามารถรักษาได้" โกรทฮอร์โมนถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ชีวิตยืนยาว ซึ่งสัมพันธ์กับ วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ New England Journal of Medicine ว่า ร่างกายสามารถต่อต้านโรค และซ่อมแซมตัวเองได้ เมื่อมีระดับ HGH เพิ่มขึ้น ร่างกายสามารถฟื้นคืนความเป็นหนุ่มสาวได้ 10-20 ปี เมื่อเพิ่มระดับของ HGH ให้สูงขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน 6 เดือน 


          ในที่สุดนักวิจัยก็ได้หันกลับมาสู่วิถีทางเสริมสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ โดยปัจจุบันพบว่ามีอยู่ 6 แนวทางที่สามารถกระตุ้นต่อมพิทูอิทารี่ให้สร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมามากขึ้น แต่ละวิธีการล้วนแล้วแต่เราเองสามารถฝึกควบคุม จัดการ ได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญใดๆ ซึ่งทั้ง 6 แนวทางจะมีผลกระตุ้นต่อมไฮโปทาลามัสโดยตรง ต่อมไฮโปทาลามัสดังกล่าวอยู่ใต้สมองใกล้ๆ กับต่อมพิทูอิทารี่และปลดปล่อยฮอร์โมน GHRF ออกไปสั่งการให้ต่อพิทูอิทารี่ผลิตและสร้าง โกรทฮอร์โมนออกมา 



วิธีการทั้ง 6 นี้ ล้วนได้รับการยืนยันทางวิชาการว่าสามารถเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนได้ ยิ่งหากผสมวิธีการทั้ง 6 เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมแล้ว จะยิ่งได้ประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

1. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเข้านอนก่อนเที่ยงคืน ร่างกายของเราจะมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน จากต่อมไพเนียลในสมอง ประมาณ 4 ทุ่ม ส่งผลให้คนเรารู้สึกง่วง เมลาโทนินจะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งโกรท ฮอร์โมน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายขณะนอนหลับ โกรท ฮอร์โมนจะหลั่งมากในช่วง 90 นาทีแรกหลังจากการนอนหลับ หากเราไม่มีการหลับที่ดี หรือ หลับไม่สนิท หรือนอนดึก โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน ร่างกายก็จะไม่สร้างโกรท ฮอร์โมน เนื่องจากการหลั่งโกรท ฮอร์โมน มีความสัมพันธ์กับการหลับลึก และ เวลาในการนอน

2. รับประทานสารอาหารที่กระตุ้นการสร้างโกรท ฮอร์โมน ซึ่งมีหลายชนิด โดยเฉพาะกรดอะมิโนกลุ่มหนึ่ง เช่น แอลกลูตามีน (L-Glutamin) แอลไกลซีนแอไลซีน(L-Lysine) แอลอาร์จินีน (L-Arginine) และ แอลออร์นิทีน (L-Ornitine)


3. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 10 นาที เช่นเดินวันละ 10 – 30 นาที แกว่งแขนวันละ 200 ครั้ง เป็นต้น การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการสร้างโกรท ฮอร์โมนได้ แต่ต้องออกกำลังกายอย่างน้อย 10 นาที ต่อเนื่องกันและ ควรออกกำลังกายตอนเช้ามากกว่าตอนเย็น

4. งด หรือ ละเว้นสารอาหาร จำพวกแป้ง และ น้ำตาล เมื่อโกรท ฮอร์โมน ถูกหลั่งออกจากต่อมใต้สมอง มันจะยังอยู่ในรูปที่ใช้การไม่ได้ จนกว่าจะถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ มีชื่อว่า IGF – 1 (Insulin-Like Growth Factor) ซึ่งมีโครงสารเหมือนฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อเรารับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ร่างกายจะเข้าใจผิดว่าเรามีปริมาณโกรท ฮอร์โมนในกระแสเลือดเพียงพอแล้ว ร่างกายก็จะไม่ผลิตโกรท ฮอร์โมน สรุปได้ว่า ถ้าเราเป็นคนที่รับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะอาหารมื้อดึก จึงทำให้เราแก่ เราควรรับประทานอาหารเย็นให้เสร็จสิ้นก่อน 6 โมงเย็น และ ไม่ควรมีอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลในมื้อเย็น

5. การนั่งสมาธิช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรท ฮอร์โมน มีงานวิจัยว่า การนั่งสมาธิลึก อย่างน้อยประมาณวันละ 10 นาที จะช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งโกรท ฮอร์โมน นำไปสู่การย้อยวัย การป้องกันโรค การกระตุ้นภูมิต้านทาน และ การชะลอความชรา
6. ความอ้วนทำให้ลดการหลั่งโกรท ออร์โมน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ ความอ้วน จะยับยั้งการหลั่งโกรท ฮอร์โมน ผู้ที่ต้องการคืนกลับสู่การเป็นหนุ่มสาว หรือ ผู้ที่ต้องการย้อนวัย จำเป็นต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในน้ำหนักที่เหมาะสม จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งโกรท ฮอร์โมน คนอ้วนจะดูมีอายุกว่าคนผอม และ เมื่อเราผอมลง ร่างกายจะมีการหลั่งโกรท ฮอร์โมนมากขึ้น นำไปสู่การย้อนวัยได้

การได้รับสารอาหารบางชนิดสามารถช่วยกระตุ้นการหลัง โกรท ฮอร์โมน ในขณะที่เรานอนหลับได้


           การเสริมกรดอะมิโนให้กับร่างกายอย่างพอเพียง เพื่อกระตุ้นการสร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมน ปัจจุบันล่าสุดส่วนผสมของกรดอะมิโนที่นิยมใช้กันมากคือ L-Lysine, L-glutamine, L-Glycine, L-Phenylalanine, L-Carnitine, L-Arginine สารชื่อแปลกๆ ยาวๆ เหล่านี้คือชื่อทางเคมีของกรดอะมิโน เราลองมาศึกษาคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของกรดอะมิโนกันก่อน

ความรู้เกี่ยวกับกรดอะมิโน (Amino-acid) 
          เราทราบกันดีว่าโปรตีนเป็นอาหารหมวดสำคัญของร่างกายที่ช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้อ , ผิวหนัง , เส้นเอ็น , กระดูกอ่อน , ผม , เล็บ , ขน , ต่อมไร้ท่อ , อวัยวะทั่วร่างกาย , เลือด , น้ำเหลือง , เอ็นไซม์ , ฮอร์โมน ฯลฯ ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโปรตีนมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ ( ร่างกายประกอบด้วยน้ำ 70 %) แต่ร่างกายเราไม่สามารถนำโปรตีนจากอาหารไปใช้ได้โดยตรง เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดใหญ่เกินไป จำเป็นต้องย่อยสลายออกไปจนมีคุณสมบัติซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้งานได้ สารที่ถูกย่อยจากโปรตีนจนเล็กที่สุดนี่เอง เรียกว่า กรดอะมิโน ( Amino-acid)

          ดังนั้น กรดอะมิโนจึงนับเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมหาศาล ที่จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตทั้งกล้ามเนื้อ, กระดูก, ฟัน, ผม ฯลฯ

ระบบประสาททำงานได้, สมองสั่งการได้
มีภูมิคุ้มกัน – ภูมิชีวิตต้านทางโรคภัยและความเสื่อม
ทำให้วิตามินและแร่ธาตุออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้
          ในปัจจุบันการศึกษาพบว่ามีกรดอะมิโนประมาณ 28 ชนิด แต่ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการใช้มีอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียงโมเลกุลชนิดเวียนซ้าย (Levoform) ซึ่งมีอักษร L- กำกับหน้าชื่อ เช่น L-Glysine, L-Arginine ร่างกายเราสามารถนำกรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิดมาต่อเชื่อมเรียงโมเลกุลกัน เพื่อสรรค์สร้างโปรตีนได้มากมายหลายร้อยชนิดแตกต่างกัน เช่น โปรตีนภายในฮอร์โมน , โปรตีนกล้ามเนื้อ , โปรตีนเอ็นไซม์ การสร้างโปรตีนแตกต่างกันได้ก็เพียงอาศัยการจัดเรียงกรดอะมิโนไม่เหมือนกัน , ต่อเชื่อมด้วยตำแหน่งแตกต่างกัน

80% ของปริมาณกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องใช้ ตับสามารถผลิตและสังเคราะห์ขึ้นได้เองภายในร่างกาย

20 % ของปริมาณกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการใช้ ตับไม่สามารถสร้างได้ และจำเป็นต้องทางอาหารที่อุดมโปรตีนเข้าไปทดแทน เช่น L-Lysnine, L-phenylalanine ดังนั้นผู้ทานอาหารมังสวิรัติ จึงมักพบว่าร่างกายขาด L-Lysine เนื่องจาก L-Lysine ไม่พบในถั่วและธัญญพืช แต่พบในเนื้อปลาเนื้อสัตว์ ไข่ นม เป็นต้น

             ขบวนการสร้าง โกรทฮอร์โมนยิ่งต้องการใช้กรดอะมิโนมากขึ้น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของโกรทฮอร์โมนคือ “ กรดอะมิโนกว่า 191 ชนิด ” ขณะเดียวกันฮอร์โมนทั้งหลายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนจากตับ, ฮอร์โมนจากไต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนผสมของกรดอะมิโนหลายสิบชนิดไปจนถึงหลายร้อยชนิด ตามความซับซ้อนของหน้าที่ฮอร์โมนหรือเอนไซม์

ส่วนผสมสำคัญๆ ที่ช่วยเสริมต่อมพิทูอิทารี่ให้สร้างโกรทฮอร์โมนได้มีคุณสมบัติแยกพิจารณาเป็นรายตัวดังนี้

ชื่อส่วนประกอบ ลักษณะโดยทั่วไปและประสิทธิภาพ และ คุณประโยชน์ต่อร่างกาย

L-Lysine แอส - ไลซีน 
เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ต้องทานอาหารเข้าไปเสริมทดแทน
พบในอาหารจำพวกถั่ว, เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อสัตว์ปีก, นม
ใช้เสริมให้กับผู้ป่วยโรคหวัดและเสริมเพื่อเร่งฟื้นฟูร่างกายให้หายเร็วขึ้น

จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างโปรตีน
เสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูกและร่างกาย, ช่วยการดูดซึมแคลเซียม
ควบคุมระดับไนโตรเจนให้สมดุล
เสริมสร้างการผลิตแอนตี้บอดี้ฮอร์โมน, เอ็นไซม์, คอลลาเจน, การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ลดไตรกลีเซอร์ไรด์ในกระแสเลือด

L-Glutamine แอล – กลูตามีน 
มักพบอยู่บริเวณผิวภายนอกของโปรตีนและเอ็นไซม์  เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองและพบมากที่สุดในกล้ามเนื้อ  ซึมเข้าสู่สมองได้ดีมาก โดยจะใช้เสริมอาหารกับนักเพาะกาย นักกีฬา และผู้กำลังจำกัดอาหารลดน้ำหนัก

เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์สมองได้ดีมากและช่วยขับถ่ายของเสียออกจากสมอง
ควบคุมภาวะกรด/ด่างในเลือด ช่วยรักษาอาการไขข้ออักเสบ, กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติ, มะเร็ง, ลมชัก, สมรรถภาพทางเพศเสื่อม, จิตหวาดระแวง
ป้องกันการฝ่อลีบตัวของกล้ามเนื้อ

L-Arginine แอล- อาร์จินีน 
พบในอาหารพวกข้าวกล้อง, ถั่วลิสง. ข้าวสาลี, ผลองุ่นแห้ง พบได้มากภายในผิวหนังและเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง 

1.ช่วยกระตุ้นร่างกายสร้างโกทฮอร์โมนเพิ่มขึ้น
2.ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซมผิวหนัง, กระดูก, เส้นเอ็น, กล้ามเนื้อ
3.ช่วยเร่งการขับถ่ายไนโตรเจนส่วนเกิน ซึ่งเกิดจากโปรตีนออกจากเซลล์
ลดไขมัน, เพิ่มกล้ามเนื้อ เร่งตับอ่อนหลั่งอินซูลิน เผาผลาญน้ำตาลในกระแสเลือด

L-Glycine แอล - ไกลซีน 
เป็นกรดอะมิโนที่พบมากเป็นอันดับสองในโปรตีนและเอ็นไซม์
ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโนมากมายหลายชนิด
ทำให้ร่างกายโดยรวมมีพลังงานเพิ่มขึ้น

  • จำเป็นต่อการสังเคราะห์กรดอะมิโนตัวอื่นๆ และกรดน้ำดี 
  • จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสมอง 
  • จำเป็นต่อการสร้าง DNA, RNA และกล้ามเนื้อ 


L-Phenlalanine แอล - เฟนิลอลานีน 
          เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ มีคุณสมบัติดูดซับรังสี U.V. ได้ดี
จำเป็นต่อการสังเคราะห์กรดอะมิโนอื่นๆ
ใช้เสริมการรักษาไขข้ออักเสบ, ซึมเศร้า, ปวดประจำเดือน, ปวดไมเกรน, โรคพาร์คินสัน
           ช่วยในการสังเคราะห์สารตัวนำสัญญาณจากสมอง 2 ตัวคือ โดปามีน และ นอร์อิพิเนฟฟริน ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง, อารมณ์สดชื่น, ลดความปวดเมื่อย, ช่วยความจำ, ลดความอยากอาหาร

L-Carnitine แอล – คาร์นิทีน 
          มีโครงสร้างและคุณสมบัติต่างไปจากกรดอะมิโน ทั่วไป และไม่ได้ใช้ในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนและเอ็นไซม์   พบในอาหารจำพวกนม, เนื้อสัตว์ ร่างกายสามารถสังเคราะห์จากกรดอะมิโน เช่น ไลซีน และ เมทิโอนีน, วิตามิน B-1, B-6, วิตามิน C มักเสริมให้กับผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจ เสริมฤทธิ์การทำงานของวิตามินซี, อี
         คนทานมังสวิรัติมักขาดคาร์นิทีน เพราะในผักมีปริมาณไลซีน, เมทิโอนีนน้อยมาก ไม่เพียงพอ
         เป็นสื่อกลางที่ช่วยเหลือการขนส่งกรดไขมันเข้าสู่เซลล์  เพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญไขมันให้เป็นแหล่งพลังงานจึงช่วยลดไขมันในกล้ามเนื้อหัวใจป้องกันโรคหัวใจ
ป้องกันการเกิดไขมันสะสมในตับ เนื่องจากแอลกอฮอลล์, ป้องกันโรคตับแข็ง
ลดไขมันในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มักจะมีภาวะไขมันเกิน และลดไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันในกระแสเลือด

วิตามินซี ( กรดแอสคอร์บิค ) 
          เป็นวิตามินละลายได้ในน้ำ ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น  ใช้เสริมการรักษาไขหวัด, เหงือกอักเสบ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย เสริมประสิทธิภาพการดูดซึมของกรดอะมิโน ช่วยเสริมประสิทธิภาพของพรอสต้าแกลนดินในการขยายหลอดลม ช่วยลดอาการแน่นหน้าอกของผู้ป่วยโรคหืดหอบ ลดปริมาณคลอเรสโตรอลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่อต้านและยับยั้งอันตรายจากพิษของยาปฏิชีวนะ, สเตียรอยด์, บุหรี่


วิตามินปี 6 ( ไพริดอกซิน- ไฮโดรคลอไรด์ ) 
      มีการขนานนามว่าเป็นวิตามินแห่งชีวิต เพราะจำเป็นต่อเลือดและเส้นเลือดเกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเอ็นไซม์มากกว่า 60 ชนิด ในขบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโนและกรดไขมันภายในร่างกาย  จำเป็นต่อการย่อยแปรสภาพโปรตีนภายในอาหารให้กลายเป็นกรดอะมิโน  ช่วยเสริมสร้างความสมดุลของปริมาณเกลือแร่ โปรตัสเซียม , โซเดียมที่จำเป็นต่อระบบการสั่งงานขอประสาทและสมอง

Beta-Carotine ( วิตามิน A) 
           ทราบกันมานานว่าช่วยป้องกันการติดเชื้อและช่วยเพิ่มการมองเห็นตอนกลางคืน
ด่านแรกในการป้องกันการรุกรานของเชื้อโรคและสารพิษ และเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย  จำเป็นต่อการเสริมสร้างกระดูก , ฟัน , เนื้อเยื่อ กำจัดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
สริมประสิทธิภาพการดูดซึมของกรดอะมิโน ซึ่งเบต้าคาโรทีนเป็นโภชนาหารที่จำเป็นต่อเซลล์