วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเรียกร้องความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำของพยาบาลวิชาชีพไทย

.........บางที...คนเราทุกคนมีการแสวงหาความสุข จากๆหลายสิ่งอย่าง ครอบครัว ที่ทำงาน ฯลฯ ภายใต้ของความสุข แน่นอนที่สุดของปถุชนคนทั่วๆไปย่อมต้องการ ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือการยอมรับจากคนอื่นๆ หรือคนใกล้ตัว ครอบครัว ครับ การให้ได้มาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่ตนเองต้องการ นั่นคือ กิเลส ก็แล้วแต่มุมมองหรือจุดยืนของแต่ละคนใช่มั้ยครับ  ดังนั้นคำว่าผิดถูกจึงไม่สามารถนำมาซึ่งคำตอบแทนกันได้กับทุกๆคน ความพอดี มันอยู่ที่แต่ละบุคคล เหมือนคำว่า "คุณภาพ" สเกลของการวัดมันไม่สามารถตอบแทนกันได้ในทุกสิ่งอย่างนะครับ บางคนบอกว่า ตนเองทำดีที่สุด หรือคนอื่นๆ ก็บอกว่าฉันก็ทำดีที่สุด ....ครับ...มองออกไปว่า ถ้าร้านกาแฟดังๆ หลากยี่ห้อ หลายๆร้าน ....กาแฟจะรสชาดดีแค่ไหนก็ตามแต่อาจได้รับความนิยมเหมือน ๆ กัน ....บางทีปัจจัยที่เอื้อต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภคมันมีหลายๆปัจจัย เช่น ชื่อเสียงของร้าน เส้นทางคมนาคมสะดวก การบริการของร้าน เช่น ชื่อร้าน. การจัดห้อง ที่นั่ง wifi อินเตอร์เนต หรือที่จอดรถ ฯลฯ หรือระดับราคา เห็นมั้ยครับสูตรความสำเร็จตายตัวมันไม่มี ดังนั้นคุณภาพ มันไม่ได้มีตามมีตามเกิดนะครับ แรงดึงดูดหรือความสนใจของผู้บริโภคมีหลายๆปัจจัย ทั้งนี้ มันอยู่ที่ความพึงพอใจของลูกค้าแต่ละราย หรือ ใแง่จองการเลือกซื้อเครื่องนุ่งห่ม ยอดจำหน่ายของแต่ละแห่งย่อมแตกต่างหรือคล้ายกันทั้งนี้ผู้กำหนดกลไกการตลาด....มันขึ้นกับหลายๆ ปัจจัยครับ 


    ......การบริการของสถานประกอบการรักษาพยาบาล ของรัฐก็เช่นกัน  ทุกสถานบริการสุขภาพต่างขับเคลื่อนกลยุทธ์ของการบริการเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ดี มีความพึงพอใจในการบริการสุขภาพนั้นๆ (การชื่นชม ยอมรับ และอยากได้ ) หรือคุณภาพที่เป็นคำตอบนั่นเอง นโยบายของรัฐมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ของการบริการเพื่อดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยมีเป้าหมาย คือ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครับ นโยบายของรัฐบาลแม้จะมีการเปลี่ยนทั้งผู้บริหาร คณะทำงาน ฯลฯ ก็ตามภาระงานยังคงสานกันต่อไป แม้แต่ยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนไปยังผู้ปฎิบัติ ยกตัวอย่าง สิทธิประโยชน์ของประชาชนตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค แม้จะดูดีในสายตาของประชาชน ซึ่งบางท่านอาจคิดว่า พรรคการเมืองได้กำหนดขึ้นมาเพื่อสร้างฐานของพลังเสียงการเมืองก็ตาม หรือสร้างแรงกดดันแก่ข้าราชการประจำ หรือเป็นการกระตุ้นให้ข้าราชการของสถานบริการสุขภาพนั้นๆ มีการตื่นตัวและตั้งใจทำงานให้ดีคุณภาพก็เป็นได้ ซึ่งไม่มีเกณฑ์การตัดสินได้ว่า "ดีหรือไม่ดี" ครับ แต่อย่างน้อยผลประโยชน์ในด้านการเข้าถึงการบริการ ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันได้เกิดขึ้นกับประชาชนได้อีกเช่นกัน

1.ความเหลื่อมล้ำในเรื่องงาน ความเหลื่อมล้ำในเรื่องค่าตอบแทน


.........เพื่อแก้ไขปัญหาในการลดความเหลื่อมล้ำให้กับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คือการได้รับสิทธิในการบรรจุเป็นข้าราชการ การกำหนดบันไดอาชีพที่เท่าเทียม ยกเลิกการกำหนดโครงสร้างที่เหลื่อมล้ำในวิชาชีพ การพิจารณาปรับอัตราค่าตอบแทนที่เป็นธรรมควรทบทวนค่าตอบแทนเหมาจ่าย และค่าตอบแทนการปฏิบัติงานตามลักษณะพื้นที่โดยด่วน และปฏิรูประบบบริหารจัดการให้พยาบาลได้ทำหน้าที่พยาบาลได้เต็มศักยภาพเพื่อคุณภาพการดูแลประชะหาผลลัพธ์หรือผลตอบแทนของการปฎิบัติงาน โดยเฉพาะงานบริการสาธารณะ ตามเนื้องาน

1.  การบรรจุพยาบาลวิชาชีพ


........ประเทศไทยมีพยาบาลวิชาชีพ 170,790 คน โดยจำนวน 132,362คน ปฏิบัติงานในระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งพบว่าโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปมีความต้องการพยาบาลวิชาชีพ 54,474 คน แต่มีอัตรากำลังเพียง 40,326 คน โรงพยาบาลชุมชนมีความต้องการพยาบาลวิชาชีพ 56,627 คน มีอัตรากำลัง 46,181 คน ซึ่งรวมพยาบาลที่ยังขาดในโรงพยาบาลทั้ง 3 ระดับ จำนวน 24,594 คน นอกจากนั้น ตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ต้องการพยาบาลวิชาชีพกว่า 1,000 แห่ง ยังไม่มีพยาบาล ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนพยาบาล ที่ยังไม่ได้รีบการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งที่ความต้องการพยาบาลมีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่การเพิ่มกำลังไม่ทันต่อความต้องการของประชาชน เนื่องจากสิ่งที่วิชาชีพการพยาบาลต้องเผชิญมี 3 ประการ   ได้แก่


2.ความเหลื่อมล้ำในด้านการจ้างงาน


3.ความก้าวหน้าซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น


.......วิชาชีพที่ดีจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนให้ชัดเจน ซึ่งวิชาชีพพยาบาลก็เช่นกันที่จำเป็นต้องกำหนดอัตลักษณ์ของวิชาชีพขึ้น และมีการทำ  core value  ภายใต้ความคาดหวังของสังคม ประชาชนหรือผู้รับบริการกับการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทของพยาบาลวิชาชีพ นั่นคือคำตอบของพยาบาลที่พึงประสงค์ ควรเป็นอย่างไรที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของสังคม ประชาชนหรือผู้รับบริการอย่างแท้จริง โดยพยาบาลจะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนในความเป็นวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดถึงการบรูณาการการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคมต่อไป

ประเด็น

1.การจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายอย่างเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ


2.ความเป็นธรรมและลดช่องว่างระหว่างวิชาชีพ เพราะทุกวิชาชีพต่างมีความสำคัญเท่ากัน

สาระสำคัญ  

              ปัญหาและความต้องการของวิชาชีพพยาบาลและองค์กรพยาบาล 

2.  ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 
      
       2.1 ปรับระดับเงินเดือนให้มีความเป็นธรรม เทียบเท่ากับสายงานในกระทรวงอื่นๆ 

      2.2 วิชาชีพพยาบาลควรได้รับค่าวิชาชีพ ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงาน เทียบเท่าหรือไม่น้อยกว่ากับข้าราชการกลุ่มวิชาชีพอื่น  เช่น ข้าราชการครู ตำรวจ ข้าราชการศาลปกครอง ฯ 

      2.3 วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพขาดแคลน ต้องได้รับค่าตอบแทนวิชาชีพ กรณีไม่ประกอบวิชาชีพส่วนตัวนอกเวลาราชการ เช่นเดียวกับแพทย์ทันตแพทย์เภสัชกร 


          2.4 ปรับระดับเงินค่าตอบแทนเวรผลัดบ่าย-ดึก 

        2.5 ปรับระดับเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (OT) 


            2.6 ปรับระดับค่าตอบแทนอื่นๆ ดังนี้ 

                2.6.1 ค่าตอบแทนการส่งต่อผู้ป่วย เป็นภาระงานที่มีความเสี่ยงสูง  

                2.6.2 ค่าตอบแทนการออกเยี่ยมบ้านในพื้นที่บริการ เป็นงานที่ยาก ซับซ้อน และเสี่ยงภัยจากภายนอก 

                2.6.3 ค่าตอบแทนการปฏิบัติที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคจากผู้รับบริการ 

                2.6.4 ค่าตอบแทนกรณีปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการควรได้รับค่าตอบแทนมากกว่าปกติ 

                2.6.5 กรณีถูกเรียกขึ้นปฏิบัติงานเวรเสริม วันหยุดนักขัตฤกษ์ จ่ายค่าตอบแทน 2 เท่า 

                2.6.6 การอยู่เวร on call กรณีไม่ถูกเรียกมาปฏิบัติงานควรได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับการอยู่เวรปกติ



3. ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

     3.1 ให้ใช้ระบบเงินเดือนแบบแท่งที่ไม่มีเพดาน ให้ประเมินผลงานเพื่อปรับตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ได้ทุกตำแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการครู เงินเดือนลื่นไหลทุกระดับ 

     3.2 การศึกษาต่อเพื่อเพิ่มคุณวุฒิปริญญาโท, ปริญญาเอกทางสายการพยาบาล, ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(Advanced Practice Nurse: APN) ต้องมีการพิจารณาเรื่องค่าตอบแทนและความก้าวหน้าอื่นๆ ที่เพิ่มจากเดิม


4.  สวัสดิการในการทำงาน/สิทธิมนุษยชน  เช่น

       4.1 เมื่อบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ เช่น การไปส่งต่อผู้ป่วย ถูกทำร้าย การติดโรคจากการทำงาน ฯลฯ ต้องได้รับการดูแลและจ่ายค่าชดเชยที่คุ้มค่า 

         4.2 มีกองทุนสวัสดิการ เมื่อเกษียณอายุ เสียชีวิต 

       4.3 ให้มีการดูแลเรื่องความปลอดภัย การขึ้นเวรบ่าย ดึกให้กับพยาบาล


5.  ปรับโครงสร้าง

      5.1 ปรับโครงสร้างให้พยาบาลสามารถดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ในหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ  

          5.2 ทำงานตรงตามหน้าที่ ไม่ใช้ผิดประเภท และไม่ Overload 

      5.3 เพิ่มบุคลากรทางการพยาบาลหลายระดับ ( staff-mix ) เพื่อรับผิดชอบในงานที่แตกต่างกัน

          
>>>  นำไปสู่การเรียกร้องความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ?

.........อย่างไรก็ตามครับ...การเปลี่ยนแปลงในองค์การคือความไม่ชอบใจของข้าราชการหลายๆ อาจจะด้วยเหตุผลของความเคยชิน ภาระงานที่เพิ่มขึ้น คุณภาพที่ทุกองค์การไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนก็ตามต่างๆ ขับเคลื่อน การคิดค้น การศึกษา การวิจัย เพื่อใหได้มาซึ่งกระบวนการปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อผู้ที่มาใช้บริการและผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจในการบริการนั้นๆ ลดปัญหาข้อร้องเรียน และปฎิบัติกิจกรรมอันก่อให้เกิดรูปธรรมและการบันทึกตามเงื่่อนไขของคำว่า คุณภาพ(Quality) นั่นเอง ซึ่งข้าราชการพลเรือนหรืออื่นๆ ต่างๆก็มีสิทธิ์อันชอบธรรมของการได้รับความเป็นธรรมจากภาครัฐ เช่นกัน ประเด็นของการเรียกร้องในหลายๆประเด็นถือว่า คือ ความชอบธรรม อันพึงมีพึงได้ ครับ ความยุติธรรม ความเสมอภาค หรือความเท่าเทียมกัน นั่นคือ สิ่งที่ทุกๆคนต้องการอย่างแน่นอน...เช่นเดียวกับ บทสรุปเรื่อง Social determinants ของ Marmot เกี่ยวกับประเด็น " เราจะถมช่องว่างทางสังคมได้อย่างไร ซึ่งกำหนดไว้ 3 หัวข้อ คือ 

1. การปรับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 


2. กลไกอำนาจต่างๆ  ให้เกิดการแก้ไขปัญหา 


3. กระบวนการวัด ซึ่งกรณีการวัดที่ได้บทสรุปจากการศึกษาต่างๆ นำไปสู่การวัดได้ 


การหามาตรวัดที่เหมาะสม ความจำเป็นในการวัดและการไปสู่อนาคตว่าสิ่งเหล่านี้ลดลงหรือมากขึ้นอย่างไร


........การตัดสินว่า ตนทำดีแล้ว  ปฎิบัติดีที่สุด .....สเกลมันใช้ไม่ได้กับทุกๆคนทุกๆอาชีพหรือแม้แต่กิจกรรมบริการต่างๆ ของพยาบาล ซึ่งจะเห็นได้ว่า พยาบาลปฎิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองไม่ว่าจะเป็นภาค ผู้บริหาร. วิชาการ  หรือภาคบริการก็ตาม หรือกระจายตามงาน ตามแผนก ครับซึ่งหากเปิดใจกันจริงๆ ภายใต้บทบาทหน้าที่ พยาบาลทุกๆคนแจ้งแก่ใจตนเองครับว่า จะมากน้อย หรือใส่ใจต่างกันก็ตาม อาทิ ความผิดพลาด ความล่าช้า ความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็น งบประมาณ เวลา กำลังคน  วัสดุอุปกรณ์ หรือภาระงาน work load  ในที่สุดผลงานที่เป็นผลลััพธ์กับผู้ป่วย ครับ... ปัญหาข้อร้องเรียน คดีการฟ้องร้องต่างๆ ที่ไม่ต้องนำมาเจียรไนครับ หรือแม้แต่ภาพ คลิปต่างๆ ของประชาชนที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของพยาบาลวิชาชีพ

.........ครับ ภาพคลิป เสียง กิจกรรมต่างๆ ของการร้องเรียนมาตลอดไม่ว่า องค์กรของตนเอง สมาคมวิชาชีพ ก็ตามจนลุกลามถึงการเรียกร้องภายใต้คำว่า " ปัญหาแลความต้องการ" ของพยาบาล หรือไม่ใช่เฉพาะพยาบาลนะครับ วิชาชีพอื่นๆก็เช่นกัน ขึ้นกับวิธีการหรือกิจกรรมของการเรียกร้องครับ ภายใต้สิทธิ อันชอบธรรมที่พึงมีพึงได้ในสังคม แล้วแต่ประเด็นหรือหัวข้อของการเรียกร้องครับ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม

........ปัจจัยที่เป็นจริงๆ ภาระงานของรัฐบาลของการบริหารงานประเทศมีหลายๆ งาน หลายๆ กระทรวง งบประมาณอันพึงมีจำกัดภายใต้การจัดสรรปันส่วน คือโจทย์ของผู้บริหารอย่างแน่นอน ทุกๆคน ทุกๆองค์กร กรม กระทรวงต่างมีความสำคัญกันหมด จะเลือกที่รักมักที่ชังย่อมเป็นไปไม่ได้ เกณฑ์การตัดสินใจ ความคิดเห็นหรือเหตุผลของแต่ละผู้บริหารหรือแม้แต่ผู้ปฎิบัติย่อมแตกต่างกันครับ คิดแทนกันไมได้ บางทียุทธศาสตร์หรือกลไก หรือมุมมองของคณะรัฐบาลอาจจะมองความสำคัญตามขนาดและปริมาณของปัญหาและหัวข้อของการขับเคลื่อนสู่การพัฒนา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกๆงาน ทุกๆกระทรวงจะไม่สำคัญนะครับ เหมือนการลี้ยงดูลูกของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน ซึ่งเป้าหมายคือ ต้องการให้ลูกเป็นคนดี มีคุณภาพ หรือ พยาบาลในแต่ละแผนกที่มีระดับขั้นหรือระดับเงินเดือนเท่ากันหรือมากน้อยกว่ากัน ไม่ได้ตอบโจทย์ว่า พยาบาลในแต่ละแผนกจะไม่ผิดพลาด จะถูกใจผู้บริหารหรือทีมงานเสมอไป   

           ครับ...การถกเถียงกันเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของการบริการ .... กระทรวงสาธารณสุขได้พยามกำหนดนโยบายต่างๆ และผ่องถ่ายไปยังสถานบริการสขภาพทุกๆระดับตามสายงานบังคับบัญชาหรือภาคปฏิบััตินั่นเอง ซึ่งกิจกรรมการติดตาม ประเมินผลย่อมตามมาอย่างแน่นอน ความพยามการสร้างครู ก. ครู ข. สำหรับการนิเทศติดตามว่ากันไปตามกำหนดการนั้นๆ  ภายใต้คำว่า การพัฒนางานบริการสุขภาพไปสู่คุณภาพ นั่นเอง ยิ่งทำ ยิ่งจุดประเด็น บวกกับกระแสสังคมต่างๆนาๆ ที่เรียกร้อง กรอปกับสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยต่อการใช้บริการสุขภาพตามนโบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.  .ดังนั้น...ทุกวิชาชีพที่ปฏิบัติงานบริการสุขภาพจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง.....เช่นกันครับ พยาบาลต้องกำหนดบทบาทที่ชัดเจน ทั้งภาระงานเพิ่มขึ้น กิจกรรมการพยาบาลภายใต้มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานสถานบริการที่มีการประกันคุณภาพ ดังนั้น คำต่าง ๆ หรือกลอุบายต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือสำหรับกำหนดบทบาทผู้ปฎิบัติของผู้บริหารและนักวิชาการพยาบาลสำหรับการพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาองค์กร ตัวอย่าง เช่น อัตลักษณ์ และ core value ฯลฯ ได้ผุดขึ้นมาแล้วครับ แน่นอนที่สุดครับ ภาระหลักของกิจกรรมบริการพยาบาลที่ต้องการมาตรฐานผลลัพธ์อันก่อให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจใกิจกรรมบริารพยาบาลนั่นเองครับ


      ... จากสถานการณ์ที่พยาบาลยังขาดเสรีภาพและความเป็นธรรม ทำงานหนัก เสี่ยง ผลตอบแทนไม่เป็นธรรม เจ็บป่วยจากการทำงานเสียชีวิต บาดเจ็บในขณะส่งต่อผู้ป่วย เงินเดือนน้อย การทำงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาลและกฎหมายแรงงาน อยู่เวร On callแบบไร้ค่าตอบแทน ทำหน้าที่แทนวิชาชีพอื่น เกิดเหตุฉุกเฉินที่ขาดระบบช่วยเหลือ พยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลคนชายขอบของสังคมและวิชาชีพโอกาสในการพัฒนาวิชาการน้อยความก้าวหน้าและการพัฒนาวิชาชีพไม่ได้รับความเป็นธรรมจบปริญญาโท เอก เป็น APN ( Advanced Practice Nurse ) แต่ค่าตอบแทนเท่าเดิม

สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย (Nursing Union of Thailand, NOUT) จึงได้ร่วมประชุมปรึกษา หารือเรียกร้องขอความเป็นธรรม ดังนี้


         1.1 ให้มีการบรรจุพยาบาล เป็นข้าราชการทุกตำแหน่ง 


         1.2 ให้มีการบรรจุพยาบาล หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งของบุคคลที่มีคุณสมบัติของพยาบาลวิชาชีพ เป็นพยาบาลวิชาชีพ

.......คำถาม...วันนี้การเรียกร้องซึ่งให้ได้มาเพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ .....อัตลักษณ์ ของพยาบาลจะต้องเป็นรูปธรรม แม้แต่การกำหนด core value หรือการทบทวน Quality  Assurrance : QA หรือ การทบทวนทีมเพื่อนำไปสู่กระบวนการบริการพยาบาล  การลดข้อร้องเรียน การลดคดีฟ้องร้องพยาบาล หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อรัองเรียนเป็นอย่างไร การทบทวนกิจกรรมการพยาบาล อัตราการเจ็บป่วย  ภาวะพิการ การป่วยซ้ำหรือการกลับมานอนรักษาตัวซ้ำ การวิเคราะห์งาน อัตราค่าใช้จ่ายในิจกรรมการยริการพยาบาล ฯลฯ โดยมองความพึงพอใจของผู้ป่วย การมองมวลรวมมากกว่ามวลตนหรือมองเชิงมหภาคมากกว่าจุลภาค รวมถึงพลังของทีมวิชาชีพที่แสดงความแข็งแกร่งภายใต้หลักแห่งเหตุผล (resonable rule) การอ้างอิงข้อมูลเชิงประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็นอัตราต่างๆ สถานการณ์. ตัวบทกฏหมาย กระบวนการนำมาซึ่งองค์ประกอบแห่ง พรบ.วิชาชีพ การวิเคราะห์เนื้อหาของ พรบ.วิชาชีีพพยาบาล ปี 2528 ที่ใช้กันมานาน และไม่เคยได้หยิบยกขึ้นมาทบทวนกันอย่างจริงจัง  อาจจะขาดเสาหลัก หรือขาดความรัก ความจริงใจ ความสามัคคีในองค์กรวิชาชีพพยาบาลหรือเปล่าครับพยาบาลควรรวมตัวผนึกกำลังสำหรับการเปิดเวทีประชาวิจารณ์และร่วมกันวิเคราะห์แห่ง พรบ.วิชาชีพพยาบาล ปี 2528 เพื่อหาข้อสรุปแห่งการพัฒนาและทันสมัยต่อการนำไปปฏิบัติ ดังนันบทบาทของสภาพยาบาลจะต้องทบทวนภาระกิจให้ทันสมัยด้วย ทำโจทย์ที่ให้สมาชิกรับและรู้สึกว่าสภาพยาบาลทำหน้าที่เหมือนเป็นเสาหลักแก่สมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม ควรเปิดเวทีการส่งเสริมและสนับสนุนมากกว่าที่เป็นอยู่โดยเฉพาะงบประมาณ ทุนสำหรับงานวิจัยทางการพยาบาล จัดการความชัดเจนของ APN ให้สังคมและสมาชิกได้เข้าใจในสิ่งที่กำหนดและดำเนินการมา  เพื่อการพัฒนาวิชาชีพของพยาบาลให้เข้มแข็งภายใต้ทฤษฎีการพยาบาล การมีส่วนร่วม การจูงใจ ความขัดแย้งฯลฯ  ปฎิบัติดี ได้รับการยอมรับจากสังคม และการประกันว่าบริการพยาบาลดีเยี่ยม และผมมองว่า ควรนำเอาหลัก Award มาเป็นประเด็นของการตอบแทน อาทิ  การชื่นชม ส่วนต่าง ส่วนค่าตอบแทน จะดีกว่าการขยายเพิ่มกรอบซี 7 เป็นซี 8 มั้ยครับ

.......... แต่ถ้าจะปรับเรื่องอัตราหรือกรอบขั้น ซี 8 เพื่อเปิดทางและสกัดคำว่า "เพดานเงินเดือนชนหรือตัน" แล้ว .... ปัจจัยที่อยากให้มองหรือการคำนึงและพิจารณานะครับว่า แผนก. ต้นสังกัด กระทรวงที่พยาบาลสังกัดอยู่ของพยาบาล กรอบของนักวิชาการพยาบาล ผลงานด้านกานวิจัย หรือนวัตกรรมการบริการพยาบาลที่ถือว่าดีเยี่ยมและน่านำไปประกาศใช้. งานพยาบาลเชิงรุก ฯลฯ หรือพยาบาที่ปฎิบัติงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  บทบาทภาระงาน การนิเทศ การทำผลงานวิชาการ หรือพยาบาลที่อยู่ในสังกัดวิทยาลัยพยาบาลฯ  และเพื่อนร่วมวิชาขีพในการบริการสุขภาพด้วยกัน ..ทั้งนี้เงื่อนไขและแนวทางการพิจารณาจะต้องชัดเจน....เรื่องการปรับเพิ่มกรอบซี รวมถึงนโยบายหรือฐานของกรอบอัตรากำลังของ กพ. อีกด้วยหรือไม่ ง่ายๆ พยาบาลน่าจะขยายคำว่า พยาบาลที่พึงประสงค์  หรือ อัตลักษณ์พยาบาลวิชาชีพ ความเสี่ยงโดยเฉพาะพยาบาลตามชายแดน หรือ 3 จังหวัดในภาคใต้ นั่นแหละกระบวนการเรียกร้องหรือการฟ้องต่อศาลปกครองอันพึงมีต่อการรับฟ้องและการขับเคลื่อนได้ครับ หรือเปล่า ?????

.........ครับ ความเป็นธรรมกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐได้ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ที่นิยมตลาดมาแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน และใช้กลไกทางการคลังแทรกแซง โดยสรุปได้ว่า รายจ่ายเพื่อสวัสดิการอยู่ในระดับที่ต่ำ (มีรายจ่าย 20-40 %ของ GDP) ปัญหาของการเหลื่อมล้ำโดยลดความเป็นธรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไข ปัญหาเชิงโครงสร้าง (ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมวัฒนธรรม และระบบแรงงาน) และสร้างความรู้เพือการขับเคลื่อนนโยบายและเป็นปฎิบัติจากล่างสู่บน ตราบใดรัฐยังไม่โฟกัสถึง Social protection และ non-discrimination แล้วความยุติธรรมจึงจะเกิดขึ้นครับ